ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา
“บริการ  ยึดหลักธรรมาภิบาล  มุ่งสู่มาตรฐานสากล”
ปณิธาน
กองคลัง  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  มีความมุ่งมั่นรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการด้านงบประมาณ  การเงิน และพัสดุ  ให้เกิดประสิทธิภาพความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ  ทั้งภายในและภายนอก
วิสัยทัศน์
“เป็นหน่วยงานให้บริการด้านงบประมาณ  การเงิน  และพัสดุ  อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัย  เพื่อก้าวไกลสู่มาตรฐานสากล”
พันธกิจ
1. เป็นศูนย์กลางข้อมูล และการบริหารจัดการทางด้านงบประมาณ   การเงิน การบัญชีและพัสดุ  การบริหารทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางการเงินของมหาวิทยาลัย
3. บริการด้านวิชาการ ให้คำปรึกษาเสนอแนะ การบริหารด้านงบประมาณ  การเงิน บัญชี และพัสดุของมหาวิทยาลัย
4. พัฒนาระบบงานบริหารงบประมาณ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
5. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร  เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการให้บริการ
นโยบาย
1.นโยบายด้านการให้บริการ
-จัดวางระบบการให้บริการด้านงบประมาณ  การเงิน บัญชี และพัสดุ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็วถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
-การให้บริการด้านวิชาการ  โดยให้คำปรึกษา  แนะนำแก่บุคลากรในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานด้านบริหารงบประมาณ  การเงิน บัญชี และพัสดุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
-รับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ  เพื่อพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพ
-จัดทำ Web site กองคลัง เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสาร  และอำนวยความสะดวกการดำเนินการด้านงบประมาณ  การเงินบัญชี และพัสดุ แก่ผู้รับบริการ
2.นโยบายด้านการบริหารจัดการ
-แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบตามโครงสร้างการบริหารงานกองคลัง
-กำหนดภาระหน้าที่ (Job Desciption)  ของบุคลากรแต่ละบุคคลให้ชัดเจน
-มีการติดตามและประเมินการปฏิบัติงาน
-ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถและ
-ประสบการณ์  เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
-นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  มาใช้ในการพัฒนาระบบงานเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพ
-ลดขั้นตอนงาน
-จัดประชุมกองคลังอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรและติดตามผลการดำเนินงาน
-สร้างเครือข่ายความรู้กับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3.นโยบายด้านการเงินและงบประมาณ
-จัดระบบการบริหารงบประมาณส่วนกลาง  การเงิน บัญชี และพัสดุ ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง เปิดเผย  โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
-นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบงาน  เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้รับทราบข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้อง  รวดเร็ว  สามารถนำไปตัดสินในการบริหารจัดการได้ทันเวลา
-นำระบบการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในการบริหารจัดการ  เพื่อลดปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการ
-จัดให้มีการติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน  ให้ไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย และของรัฐบาล
4.นโยบายด้านประกันคุณภาพ
-นำระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการในหน่วยงาน
-กระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงาน  เรียนรู้และเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพ
-ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบงาน